..:: ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยการออกกำลัง ::..
บทความโดย นางสาวจิตรา ทองเสม
อาการที่เป็นสัญญาณอันตรายของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ อาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดลำบาก ลิ้นคับปาก กลืนสำลัก ชาครึ่งซีก เวียนหัว ปวดหัว อาเจียน เห็นภาพซ้อน หมดสติ หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
โรคหลอดเลือดสมองสามารถรักษาได้ โดยปัจจุบันมีการรักษาที่เรียกว่า Stroke Fast Track ผู้ป่วยต้องไป พบแพทย์ให้เร็วที่สุดหลังเกิดอาการผิดปกติ ถ้าไปพบทันภายในเวลา 4 ชั่วโมงครึ่ง แพทย์จะทำการฉีดยาละลาย ลิ่มเลือดให้ วิธีการรักษานี้ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและการพิการได้ ส่วนผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์เกิน 4 ชั่วโมงไปแล้ว แต่ยังไม่เกิน 12 ชั่วโมง มีวิธีการรักษาอีกแบบที่เรียกว่า การดึงลิ่มเลือดที่อยู่ในหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้ ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง หรือพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงก็ให้ทำการรักษาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหลอดเลือดสมอง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง คนที่เป็นโรคนี้เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง มากกว่าคนปกติ 3-7 เท่า เบาหวาน เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 3 เท่า สูบบุหรี่ เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 2 เท่า ไขมันในเส้นเลือดสูง เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 2 เท่า นอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 3 เท่า
สำหรับคนที่มีปัจจัยเสี่ยงมากกว่า 1 ปัจจัย โอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มทวีคูณ นอกจากหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง การออกกำลังกายก็เป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยผู้ที่ทำการออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ถึง 50%
……………………………………………………………………………………………………….……………………………
ที่มา : www.thaihealth.or.th สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)