วันนี้ (6 กุมภาพันธ์ 2566 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ – คณะสิ่งแวดล้อมและทรั พยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่ วมมือพัฒนาต้นแบบด้านนวั ตกรรมไม้เศรษฐกิจ ในการประเมินปริมาณคาร์บอนเครดิ ต โดยมี นายสุกิจ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่ าไม้ และ รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรั พยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้ร่ วมลงนามในครั้งนี้ ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬห์ อาคารนาทตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรั พยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นายสุกิจ จันทร์ทอง ผอ.อ.อ.ป. เปิดเผยว่า การร่วมลงนามในบันทึกข้ อตกลงความร่วมมือพัฒนาต้นแบบด้ านนวัตกรรมไม้เศรษฐกิจ ในการประเมินปริมาณคาร์บอนเครดิ ตในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนางานวิจัยต้นแบบการบริหารจั ดการคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ และพัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้ และทักษะด้านการวิจัยเพื่อบริ หารจัดการคาร์บอนเครดิต ตลอดจนเพื่อพัฒนาวิธีการประเมิ นคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ ตามระเบียบของโครงการลดก๊าซเรื อนกระจกภาคสมั ครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program, T-VER) และเพื่อพัฒนาต้นแบบโครงการบริ หารจัดการคาร์บอนเครดิตภาคป่ าไม้ของ อ.อ.ป.
โดย อ.อ.ป. - ม.มหิดล จะร่วมกันคัดเลือกพื้นที่สวนป่ าและกำหนดแปลงสำรวจถาวร เพื่อสำรวจปริมาณคาร์บอนเครดิต โดยใช้อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม และวิธีการประเมินที่เหมาะสมกั บพื้นที่ นำข้อมูลไปเปรียบเทียบกับข้อมู ลตรวจวัดจริงภาคสนาม เพื่อพิสูจน์ต้ นแบบการสำรวจและประเมินปริ มาณคาร์บอนเครดิตที่มีความถูกต้ องแม่นยำ และสามารถนำไปขอรับรองและขึ้ นทะเบียนกับองค์การ -บริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกต่ อไปได้
ผอ.อ.อ.ป. กล่าวต่อไปอีกว่า ขอบเขตของความร่วมมือในครั้งนี้ อ.อ.ป. - ม.มหิดล จะร่วมกันส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนางานวิจัยต้ นแบบการบริหารจัดการคาร์ บอนเครดิตภาคป่าไม้ ในพื้นที่สวนป่าเป้าหมายของ อ.อ.ป. ให้สามารถเข้าร่วมโครงการ T-VER เพื่อผลักดันให้สวนป่าไม้ เศรษฐกิจในประเทศไทยยกระดับพั ฒนาคุณภาพของสวนป่าไม้เศรษฐกิ จให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดการรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิ ดความมั่นคงและยั่งยืน ตลอดจนทั้ง 2 หน่วยงานจะร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้ และทักษะด้านการวิจัยเพื่ อการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิ ตของ อ.อ.ป. ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ทันการณ์ และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และร่วมกันสนับสนุน ผลักดัน ให้เกิดการนำผลงานวิจัย หรือผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยที่เกิ ดจากความร่วมมือนี้ไปสู่การใช้ ประโยชน์ทั้งเชิงพาณิชย์ เชิงนโยบาย และเชิงสาธารณะ ในอนาคตต่อไป
ทั้งนี้ จากการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่ วมมือพัฒนาต้นแบบด้านนวั ตกรรมไม้เศรษฐกิจ ในการประเมินปริมาณคาร์บอนเครดิ ต อ.อ.ป. - ม.มหิดล มุ่งหวังว่า การใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่ อสำรวจปริมาณคาร์บอนเครดิตนี้ จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ทั้งเชิ งพาณิชย์ เชิงนโยบาย และเชิงสาธารณะ รวมถึงร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรของทั้ง 2 หน่วยงาน ให้มีองค์ความรู้และทักษะเพื่ อบริหารจัดการคาร์บอนเครดิ ตของประเทศด้วยวิธีการที่ เหมาะสม ทันการณ์ และมีประสิทธิภาพต่อไป ผอ.อ.อ.ป. กล่าวทิ้งท้าย