องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ โดย นายบัญญัติ  ซงซา หัวหน้างานสวนป่าน้ำตาก องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เขตพิษณุโลก องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือล่าง มอบหมายให้ ว่าที่ร้อยตรีธีรพล เขียวเหลือง ผู้ช่วยหัวหน้างานสวนป่าน้ำตาก นำพนักงานพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ชุดดับไฟป่า สนธิกำลังร่วมกับอาสาสมัครป้องกันไฟป่าหมู่บ้านในพื้นที่บ้านบางยางพัฒนาและบ้านน้ำตาก ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เข้าระงับเหตุไฟป่าในบริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขากระยางและพื้นที่สวนป่า (ป่าเศรษฐกิจ) ระหว่างวันที่ 21-22 มีนาคม 2566 เพื่อช่วยป้องกัน ควบคุมบรรเทาความเสียหายต่อพื้นที่ป่าไม้และสภาพแวดล้อม ไม่ให้เกิดการลุกลามขยายพื้นที่ของไฟป่าและหมอกควัน ทั้งนี้ เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อการทำลายสภาพป่าให้เหลือลดน้อยลง อีกทั้งยังลดมลภาวะทางอากาศ และภัยแล้ง.ซึ่งไฟป่าเป็นสาเหตุหลักของการทำลายแหล่งเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกทำให้เกิดความผันแปรของสภาวะภูมิอากาศ ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน

ประเด็นการมีส่วนร่วม

1. ร่วมกันวางแผนการดำเนินการดับไฟป่าเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาความรุนแรงของไฟป่า และหมอกควันบริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขากระยางและพื้นที่สวนป่า (ป่าเศรษฐกิจ)
2. ร่วมกันสร้างแนวกันไฟลดการสูญเสียของทรัพยากรป่าไม้
3. หารือแนวทางส่งเสริมกิจกรรมในการรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนตามนโยบายของรัฐบาล

สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม

                   พนักงานในสังกัดองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ชุดดับไฟป่า และอาสาสมัครป้องกันไฟป่าหมู่บ้าน สนธิกำลังร่วมกันป้องกันไฟป่าพื้นที่บ้านบางยางพัฒนาและพื้นที่บ้านน้ำตาก ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก และมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินการดับไฟป่า สามารถถ่ายทอดความรู้สู่กลุ่มเป้าหมายได้ตามแผนปฏิบัติงานด้านการป้องกันไฟป่าและหมอกควัน

ผลจากการมีส่วนร่วม

1. สามารถป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดไฟป่าและหมอกควัน บรรเทาความเสียหายต่อพื้นที่ป่าไม้
2. สามารถควบคุมไม่ได้เกิดการลุกลามขยายพื้นที่ของไฟป่า
3. สามารถช่วยลดผลกระทบต่อการทำลายสภาพป่าให้เหลือลดน้อยลง ลดการเกิดมลภาวะทางอากาศ และภัยแล้ง
4. มีแนวทางส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ป้องกันไฟป่า และหมอกควันไม่ให้เกิดขึ้นในพื้นที่

การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน

1. อ.อ.ป. มีการดำเนินงานเชิงรุกโดยสามารถจัดชุดเฉพาะกิจป้องกันและดับไฟป่าของหน่วยงาน และอาสาสมัครป้องกันไฟป่าหมู่บ้านโดยการมีส่วนร่วม
2. นำประเด็นการหารือมาจัดทำแนวทางการป้องกันไฟป่า พร้อมทั้งดำเนินการประชาสัมพันธ์   เชิงรุกเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังไฟป่าดูแลรักษาป่า และขอความร่วมมือในการควบคุมพื้นที่เผาป่า และร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันไฟป่าและหมอกควัน โดยการจัดทำแนวกันไฟร่วมกัน