เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) จัดแถลงข่าวในประเด็น “13 มีนาคม วันช้างไทย” โดยมี นางภาวินี ณ สายบุรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองโฆษกประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในการแถลงข่าว ร่วมด้วยนายประสิทธิ์ เกิดโต รองผู้อำนวยการสายบริหาร โฆษกองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ณ

ห้องแถลงข่าว 101 (ชั้น 1) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 นายประสิทธิ์ เกิดโต รองผู้อำนวยการสายบริหาร โฆษกองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2541 เห็นชอบให้วันที่ 13 มีนาคมของทุกปี เป็น “วันช้างไทย” และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 เพื่อให้ประชาชนคนไทยหันมาสนใจช้าง รักและ

หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ช้างให้มากขึ้น เนื่องจากคนไทยมีวิถีชีวิตที่มีความผูกพันกับช้างมาตั้งแต่ในอดีต อีกทั้งยังมีความเคารพและศรัทธาช้าง ตามความเชื่อทางพุทธศาสนา และช้างยังมีความเกี่ยวพัน

กับสถาบันหลักของชาติไทย ทั้งกับสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยผลจากการที่ประเทศไทยมี

วันช้างไทยเกิดขึ้น นับเป็นการยกย่องให้เกียรติว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติที่ช้าง

เคยได้รับในอดีต ไม่ว่าจะเป็นช้างเผือกในธงชาติ หรือช้างเผือก  ที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ หรือสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์

 โฆษก อ.อ.ป. กล่าวต่อไปอีกว่า สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ (ส.คช.) หน่วยงานในสังกัด  องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีภารกิจในการอนุรักษ์และบริบาลช้างไทย โดยมีช้างอยู่ในความดูแลจำนวน 111 เชือก และมีช้างสำคัญที่พำนักอยู่ ณ โรงช้างต้น สถาบัน-คชบาลแห่งชาติฯ จำนวน 6 ช้าง ช้างในพระองค์ จำนวน 4 ช้าง และช้างสำคัญที่พำนัก ณ พระตำหนักภูพาน-

ราชนิเวศน์ จำนวน 3 ช้าง ได้มีกำหนดจัดงาน ‘วันช้างไทย ประจำปี 2567’ ในระหว่างวันที่ 11 – 13 มีนาคม 2567 ณ สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง, ศูนย์บริบาลช้าง

บ้านปางหละ อำเภองาว จังหวัดลำปาง และโรงพยาบาลช้างกระบี่ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เพื่อเป็นการเชิญชวนคนไทยได้ร่วมกันรำลึกถึงบุญคุณ รวมทั้งได้เชิดชูคุณค่าและเกียรติของช้างไทยควบคู่ไปกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาการเลี้ยงช้างของล้านนา

สำหรับการจัดงาน ‘วันช้างไทย ประจำปี 2567’ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของช้างไทย ซึ่งเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของชาติ และมีส่วนร่วมในการระลึกบุญคุณของช้างที่มีต่อประเทศชาติและคนไทย ตลอดจนเพื่อเป็นการส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ที่สนใจ รับรู้เรื่องราวของช้าง ทั้งในเรื่องประเพณี วัฒนธรรม การเลี้ยงช้างของไทยมากยิ่งขึ้น สามารถนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับต่อสาธารณชนได้อย่างกว้างขวาง และเพื่อให้ชุมชนในท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู วัฒนธรรม ประเพณี และร่วมสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามสืบไป โดยในปี 2567 อ.อ.ป. ได้กำหนดรูปแบบการสื่อสารในเรื่องการร่วมรำลึกถึงคุณค่าของช้างไทย ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์วัฒนธรรม และภูมิปัญญาการเลี้ยงช้างของล้านนา โดยมีรูปแบบการจัดกิจกรรม ได้แก่ พิธีบวงสรวงสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (พระนเรศวรมหาราช, เจ้าพ่อขุนตาน และองค์พระพิฆเนศวร), พิธีบำเพ็ญอุทิศส่วนกุศลให้กับช้าง, พิธีฮ้องขวัญช้าง, การจัดประกวดซุ้มอาหาร, พิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง และร่วมรับชมช้างกินอาหารบนสะโตก 

นอกจากนี้ ในปี 2567 เป็นปีที่มีความพิเศษมากกว่าปีอื่นๆ เนื่องจาก อ.อ.ป. ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ควบคู่กันไปด้วย โดยสามารถเข้าร่วมรับชมการถ่ายทอดสดกิจกรรมวันช้างไทย และร่วมเป็น

ผู้ตัดสินการประกวดจัดแสดงซุ้มอาหารช้างบน Facebook Fanpage : ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง The Thai Elephant 

โฆษก อ.อ.ป. กล่าวทิ้งท้ายอีกว่า อ.อ.ป. มุ่งหวังผลลัพธ์จากการจัดงานในครั้งนี้ จะสามารถทำให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญและร่วมระลึกบุญคุณของช้างไทยซึ่งเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของชาติ รวมถึงสามารถการสานต่อแนวทางการอนุรักษ์ช้างไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทยสืบไปเพิ่มมากยิ่งขึ้น และร่วมมือร่วมใจกันแสดงพลังความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในการมองเห็นคุณค่าและความสำคัญของช้างไทย  พร้อมปลุกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ช้างควบคู่ไปกับการสืบสานวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาการเลี้ยงช้างของล้านนาเพิ่มมากขึ้น

1. ประเด็นหรือเรื่องการมีส่วนร่วม  

 1)  สร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานในสังกัด ทส. และสื่อมวลชน ได้รับรู้เกี่ยวกับกำหนดการจัดงานแถลงข่าวของ อ.อ.ป. และการจัดงานวันช้างไทย ประจำปี 2567 ของ อ.อ.ป. ที่ ส.คช.

 2) เปิดโอกาสให้หน่วยงานให้สังกัด ทส. สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม 13 มีนาคม วันช้างไทย และสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับบทบาทของ อ.อ.ป. ด้านการอนุรักษ์และบริบาลช้างไทย

ที่ ส.คช.  

2. สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม

 * มีจำนวนผู้เข้าร่วมงานการแถลงข่าว ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 รวมทั้งสิ้น 51 คน  

  (ผู้บริหาร พนักงาน ทส./ อ.อ.ป. จำนวน 37 คน /สื่อมวลชน จำนวน 14 คน)   

3. ผลจากการมีส่วนรวม 

 1) สื่อมวลชน นำข้อมูลจากการแถลงข่าวไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อแขนงต่างๆ เพื่อสร้างการตระหนักรู้ให้กับประชาชนทั่วไป จำนวน 14 ครั้ง (สื่อโทรทัศน์ 1 สถานี /สื่อวิทยุกระจายเสียง 1 สถานี /สื่อหนังสือพิมพ์ 1 ฉบับ/ สื่อเว็บไซต์ 11 เว็บไซต์)   

 2) สร้างการรับรู้ในเรื่องความสำคัญและความเป็นมาของวันช้างไทย และภารกิจของ อ.อ.ป. ในการอนุรักษ์และบริบาลช้างไทยต่อสาธารณชน

 3) สาธารณชนมีทัศนคติที่ดีต่อการดำเนินงานภายใต้ภารกิจอนุรักษ์และบริบาลช้างไทย ของ อ.อ.ป. ส่งผลให้มีภาพลักษณ์ที่ดี 

4. การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุง / พัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน

  * กำหนดแผนงานและกำหนดหัวข้อที่จะแถลงข่าว เพื่อสร้างความสนใจให้กับสื่อมวลชนเข้ามามีส่วนร่วมในงานแถลงข่าวของ  อ.อ.ป. และนำข้อมูลจากการแถลงข่าวไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่อไป