โดย นายสุกิจ จันทร์ทอง

ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

.

        องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนวิสาหกิจองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยมีการกำหนดกรอบทิศทางการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่การเป็น “องค์กรที่สร้างสมดุลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างยั่งยืน” (Sustainable Stakeholder Balancing) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งหน้าสู่การขยายธุรกิจไปสู่อีกขั้น พร้อมกับการสร้างผลเชิงบวกต่อชุมชนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน และความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมให้รองรับสังคมคาร์บอนต่ำอย่างเต็มรูปแบบ ควบคู่กับอนุรักษ์และสร้างความตระหนักในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้แก่ชุมชนและประชาชน รวมถึงบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้เกิดมูลค่าทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การกำหนดทิศทางของการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมป่าไม้ มีการดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่งคงแห่งชาติ นโยบายรัฐบาลแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจภาพรวม และแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจสาขาทรัพยากรธรรมชาติ และแผนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากคณะผู้บริหารบุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

        ในปี 2567 ผู้บริหารสูงสุดองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้กำหนดให้มีการประกาศเจตนารมณ์การเป็นหน่วยงานที่ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ “No Gift Policy” ภายใต้โครงการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐวิสาหกิจขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ประจำปี 2567 เพื่อยกระดับการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาลควบคู่กับการดำเนินธุรกิจป่าไม้ ธุรกิจอุตสาหกรรมไม้ ธุรกิจบริการการท่องเที่ยว และธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง และกำหนดนโยบายต่าง ๆ เพื่อยกระดับและประสิทธิภาพการดำเนินงานตาม Core Business Enablers รวมทั้งได้ให้ความสำคัญและขับเคลื่อนการดำเนินงานในการส่งเสริมค่านิยม ปลุก ปลุกคุณธรรม ปลูก ปลูกคุณธรรม ปั้น ปั้นคุณค่า ปัน ปันความยั่งยืน และวัฒนธรรมองค์กร HAPPYs ชีวิตมีความสุขทุกภาคส่วน ซึ่งในปี 2567 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้กำหนดแผนการดำเนินงานที่สำคัญขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จำนวน 9 โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

        1. โครงการเสริมสร้างการตระหนักรู้สวนป่าเศรษฐกิจให้แก่ประชาชน บทบาทหน้าที่ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ในด้านการปลูกสร้างสวนป่าเศรษฐกิจและส่งเสริมเกษตรกรปลูกบำรุงไม้เศรษฐกิจ จำเป็นที่จะต้องขับเคลื่อนการตระหนักรู้ด้านสวนป่าเศรษฐกิจเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจให้กับประเทศ ยกระดับความตระหนักรู้และการมีจิตสำนึกที่ดีต่อการปลูกไม้เศรษฐกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยเฉพาะพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ 

        2. โครงการพัฒนาสินทรัพย์ เพื่อให้ธุรกิจขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เติบโตและทันสมัยไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของการตลาดซึ่งจะต้องมีการพัฒนาและเพิ่มธุรกิจรูปแบบใหม่

        3. โครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวจากสวนป่าเศรษฐกิจ

            1) กิจกรรมส่งเสริมเกษตรกรปลูกบำรุงไม้เศรษฐกิจ ขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยกระดับขีดความสามารถในการรับมือ และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ควบคุมและลดมลพิษ และพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่เอกชนเพื่อลดแรงกดดันในการตัดไม้จากป่าธรรมชาติ สามารถตอบสนองความต้องการใช้ไม้ภายในประเทศและชุมชนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง 

            2) กิจกรรมรับจ้างปลูกป่าเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยกระดับขีดความสามารถในการรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ และควบคุมและลดมลพิษ และพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ

        4. โครงการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Forestry Lodge) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ที่มุ่งเน้นการสร้างความหลายด้านท่องเที่ยว รักษาการเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญของการท่องเที่ยวระดับโลกที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทุกระดับ และเพิ่มสัดส่วนของนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูงมีเป้าหมาย 1) การท่องเที่ยวไทย เป็นการท่องเที่ยวคุณภาพสูงที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพอื่น และ 2) การปรับโครงสร้างการท่องเที่ยวให้พึ่งพานักท่องเที่ยวในประเทศและมีการกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจมากขึ้นจึงเป็นหน้าที่ ที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จะต้องพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในสวนป่า เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในระดับประเทศ และการสร้างรายได้จากการบริการท่องเที่ยวที่คุ้มค่าต่อการลงทุนต่อไป 

        5. โครงการขยายผลคาร์บอนเครดิตสู่ชุมชน โมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศรูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้น “การเติบโตที่มีคุณภาพ” สร้างความสมดุลของเศรษฐกิจที่เน้นการสร้างมูลค่า (Value – base economy) การเติบโตที่เน้นการมีส่วนร่วม (Inclusive growth) การส่งเสริมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการส่งเสริมเกษตรปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรที่ร่วมกิจกรรมส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจมีส่วนร่วมในการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และสร้างรายได้จากการจำหน่ายคาร์บอนเครดิต

          6. โครงการบริหารจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร การจัดทำนโยบายคุณภาพองค์กร เป็นการจัดระบบและวินัยในการทำงาน เพื่อป้องกันความผิดพลาดเสียหาย และมุ่งคุณค่าในกระบวนการทำงานในทุกขั้นตอน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการก้าวไปสู่ความเป็นเลิศทั้งด้านการบริหารองค์กร การบริหารการผลิต การบริหารการตลาดเป็นระบบการจัดการที่ร่วมมือกันของพนักงานทั่วทั้งองค์กรในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างให้เกิดคุณภาพในทุกคนและทุกระดับขององค์กร ซึ่งนำไปสู่คุณภาพโดยรวมได้ 

          7. โครงการเสริมสร้างคุณค่าให้ชุมชนที่สำคัญ การสร้างผลบวกเชิงสังคม โดยเฉพาะใช้องค์ความรู้ขององค์กรช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนถือเป็นหน้าที่ที่รัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน 

          8. โครงการขับเคลื่อนองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้สู่องค์กรดิจิทัล การปรับเปลี่ยนองค์กรสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการของหน่วยงานส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบ จนพัฒนาสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลโดยสมบูรณ์ โดยลักษณะของการบริการสาธารณะจะอยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่ขับเคลื่อนโดยความต้องการของประชาชนหรือผู้ใช้บริการ ซึ่งประชาชนทุกคนสามารถเข้าใช้บริการได้โดยไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพ พื้นที่และภาษา เพื่อให้เกิดการปฏิรูปกระบวนการทำงานและการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ สร้างบริการของภาครัฐที่มีธรรมาภิบาล และสามารถให้บริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลอัตโนมัติ การเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐที่ไม่กระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลและความมั่นคงของชาติผ่านการจัดเก็บ รวมรวม และแลกเปลี่ยนอย่างมีมาตรฐานให้ความสำคัญกับการรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยไซเบอร์ และข้อมูลรวมไปถึงการสร้างแพลตฟอร์มในการสร้างบริการภาครัฐ เพื่อให้ภาคเอกชนหรือนักพัฒนาสามารถนำข้อมูลและบริการของภาครัฐไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมบริการ และสร้างรายได้ให้กับระบบเศรษฐกิจต่อไป 

        9. โครงการพัฒนาระบบการบริหารทุนมนุษย์เชิงยุทธศาสตร์ การบริหารพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent Management) คือ การดำเนินการเฟ้นหาบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ มีผลการปฏิบัติงานสูงในปัจจุบันและมีศักยภาพในการทำงานสูงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผ่านกระบวนการพัฒนาบุคลากรที่มุ่งเน้นการให้คนเก่งหรือคนที่มีความรู้ความสามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำของกลุ่ม และพร้อมที่จะพัฒนาบุคลากรเพื่อมุ่งสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มขีดสมรรถนะ และประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งส่งเสริมให้มีการวางระบบเตรียมความพร้อมเพื่อทดแทนบุคลากร ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สามารถรองรับต่อการเปลี่ยนแปลง และการวางแผนเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งบริหาร ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการเตรียมบุคลากรให้พร้อมสำหรับตำแหน่งงานที่เป็นตำแหน่งงานที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กรเพื่อให้เกิดความพร้อมและความต่อเนื่องในการด้านการบริหารจัดการหากตำแหน่งสำคัญดังกล่าวจะเกิดว่างลงในอนาคตข้างหน้า การวางแผนสืบทอดตำแหน่งจะเป็นหลักประกันในการธำรงไว้ซึ่งบุคลากรที่มีคุณภาพสำหรับภารกิจขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ในอนาคต