- รายละเอียด
- เขียนโดย Super User
- หมวด: เมนูผู้ใช้
- ฮิต: 3307
โครงสร้างการบริหารงานสำนักองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคกลาง
โครงสร้างการบริหารงานขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคกลางปัจจุบัน แยกโครงสร้างการบริหารออกเป็น 2 ส่วน คือ สำนักงานกลาง (Corporate Units) มีหน่วยงานสนับสนุน 3 หน่วยเป็นศูนย์ค่าใช้จ่าย (Cost Center) คือ ส่วนอำนวยการ ส่วนแผนงานและประเมินผล และหน่วยจักรกลเคลื่อนที่ และหน่วยธุรกิจ (Business Unit) 2 หน่วย คือ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เขตศรีราชา และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เขตบ้านโป่ง โดยได้กำหนดรูปแบบการดำเนินงานในปัจจุบันให้แต่ละหน่วยธุรกิจเป็นศูนย์กำไร (Profit center) โดยโครงสร้างอัตรากำลังประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าฝ่ายจัดการสวนป่า หัวหน้าฝ่ายจัดการผลผลิต ผู้จัดการกลุ่มสนับสนุน 3 กลุ่ม และผู้จัดการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ส่วนภูมิภาค 2 เขต
- รายละเอียด
- เขียนโดย Super User
- หมวด: เมนูผู้ใช้
- ฮิต: 4505
- รายละเอียด
- เขียนโดย Super User
- หมวด: เมนูผู้ใช้
- ฮิต: 13809
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคกลาง
ประวัติ
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคกลาง องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดตั้งตามคำสั่งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ตามคำสั่ง ที่ 11/2548 ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2548 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปรับปรุงโครงสร้าง ตามแนวทางการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเข้าสู่ระบบประเมินผล โดยการแยกหน่วยงานบางส่วนจากสำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าภาคตะวันออก (เดิม) และสำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าภาคใต้ (เดิม) ได้แก่ สำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่า ศรีราชา และสำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าบ้านโป่ง ตามลำดับ แล้วจัดตั้งเป็น“สำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าภาคกลาง” โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ อ.อ.ป. สำนักงานกลาง กรุงเทพฯ ต่อมาได้มีการปรับปรุงโครงสร้างอีกครั้ง ได้เปลี่ยนชื่อสำนักงาน เป็น “สำนักส่งเสริมและพัฒนาไม้เศรษฐกิจภาคกลาง” และ “องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคกลาง” ตามลำดับ
ออป.กลาง มีพื้นที่ในเขตรับผิดชอบ รวม 25 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, นนทบุรี, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, อยุธยา, สิงห์บุรี, สระบุรี, ลพบุรี, อ่างทอง, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, ปราจีนบุรี, นครนายก, ฉะเชิงเทรา, สระแก้ว, นครปฐม, กาญจนบุรี, สุพรรณบุรี, ราชบุรี, เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ส.ศก. ตั้งอยู่เลขที่ 76 ถนนราชดำเนินนอก แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100
วิสัยทัศน์ (Vision)
“ เป็นหน่วยงานสายผลิตหลัก ของ อ.อ.ป. ในการพัฒนาสวนป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน”
พันธกิจ (Mission)
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคกลาง รับผิดชอบดำเนินงานในธุรกิจหลักขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้โดยมีสวนป่าเป็นฐาน ได้แก่ ธุรกิจป่าไม้ และธุรกิจบริการ ในท้องที่ 25 ได้แก่ กรุงเทพฯ, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, นนทบุรี, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, อยุธยา, สิงห์บุรี, สระบุรี, ลพบุรี, อ่างทอง, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, ปราจีนบุรี, นครนายก, ฉะเชิงเทรา, สระแก้ว, นครปฐม, กาญจนบุรี, สุพรรณบุรี, ราชบุรี, เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ โดยมีพันธกิจในความรับผิดชอบดำเนินการ ดังนี้
1. พัฒนาที่ดินสวนป่าเศรษฐกิจตามหลักวิชาการ เพื่อให้ภาคการป่าไม้เป็นฐานในการผลิตอย่างยั่งยืน
2. วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการปลูกและใช้ประโยชน์ไม้เศรษฐกิจ เพื่อให้การปลูกไม้เศรษฐกิจได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า และยั่งยืน
3. ส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไม้ เสริมสร้างรายได้ให้กับประชาชน และเสริมสร้างระบบนิเวศน์ให้มีความสมดุล
4. พัฒนาการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตามหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์ (Objective)
1. จัดการสวนป่าตามหลักวิชาการ และมาตรฐานการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
2. บำรุงรักษาสวนป่า และใช้ประโยชน์พื้นที่สวนป่า ให้ได้ผลผลิตสูงสุด เต็มประสิทธิภาพ
3. สร้างรายได้จากสวนป่า และกิจกรรมต่างๆ เช่น การท่องเที่ยวสวนป่า อย่างคุ้มค่าการลงทุน
4. สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ราษฎรในท้องถิ่น ประสานทำความเข้าใจกับมวลชนท้องที่ และหน่วยงานราชการท้องถิ่น
ประเด็นยุทธศาสตร์
1.พัฒนาสวนป่าให้เป็นสวนป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
2.พัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่มีประสิทธิภาพ
3.รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.พัฒนาระบบบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคกลาง มีที่ตั้งในสำนักงานกลาง กทม. เพื่อให้การบริหารงานมีความสะดวกคล่องตัว
ที่อยู่ : เลขที่ 76 ถนนราชดำเนินนอก แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100 โทรศัพท์ : 02 – 282 -3243 ต่อ 232 – 6
โทรสาร : 02 – 282 -3872
และดูแลรับผิดชอบหน่วยงานในระดับสำนักงานฯ ภูมิภาค 2 สำนักฯ คือ
1. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เขตบ้านโป่ง ที่อยู่ เลขที่ 53/2 หมู่ที่ 4
โทรศัพท์ : 032 – 201 -565
โทรสาร : 032 – 201 – 565
2. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เขตศรีราชา ที่อยู่ เลขที่ 5 ถนนสุขุมวิท ต.ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110
โทรศัพท์ : 038 – 311 – 207
โทรสาร : 038 – 323 – 964
โดยองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคกลางแบ่งการดำเนินธุรกิจออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ธุรกิจป่าไม้ เป็นธุรกิจหลักของสำนักส่งเสริมและพัฒนาไม้เศรษฐกิจภาคกลาง ได้แก่ การบริหารจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนครบวงจร ตั้งแต่การปลูกสร้างสวนป่า การเก็บเกี่ยวผลผลิตจาก สวนป่า ทั้งที่เป็นเนื้อไม้และมิใช่เนื้อไม้ รวมถึงการใช้ประโยชน์พื้นที่สวนป่าเพื่อประโยชน์ที่เหมาะสมในการปลูกพืชเศรษฐกิจ ฯลฯ
2. ธุรกิจบริการ ได้แก่การบริการปลูกและเป็นที่ปรึกษาในการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน การให้บริการจัดหาไม้ให้กับหน่วยงานราชการ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในสวนป่า ซึ่ง ออป.กลาง มีการพัฒนาสวนป่าให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยจัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาธรรมชาติ 2 แห่ง คือ สวนป่าทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี และสวนป่าเกริงกระเวีย จ.กาญจนบุรี ธุรกิจบริการท่องเที่ยวเป็นภารกิจเสริม ที่มุ่งเน้นในด้านการประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้กับ อ.อ.ป. ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
2.1 ศูนย์ศึกษาธรรมชาติสวนป่าทองผาภูมิ
ที่ตั้ง สวนป่าทองผาภูมิ ตั้งอยู่เลขที่ 70/2 หมู่ 6 ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
โทรศัพท์ 034-685231-2
การเดินทาง เดินทางจากรุงเทพฯ ถึงจังหวัดกาญจนบุรี ระยะทางประมาณ 128 กิโลเมตร และเดินทางต่อจากตัวจังหวัดถึง อ.ทองผาภูมิ โดยทางหลวงหมายเลข 323 ระยะทาง 165 กิโลเมตร และเดินทางจากอำเภอทองผาภูมิ เดินทางโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 3273 (ทองผาภูมิ-หมู่บ้านอีต่อง) ระยะทาง 21กิโลเมตร จะถึงศูนย์ศึกษาธรรมชาติ สวนป่า ทองผาภูมิ
ที่พัก/สิ่งอำนวยความสะดวก บ้านพัก 9 หลัง อาคารเอนกประสงค์ 1 หลัง ห้องอาหาร 1 หลัง และห้องสัมมนา 1 ห้อง
กิจกรรม
- การท่องเที่ยวชมการทำไม้ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสได้ถึงขั้นตอนต่างๆ ในการทำไม้เริ่มตั้งแต่ การคัดเลือก ตัด ชักลาก ตัดทอน รวมกองจนถึงจำหน่าย โดยเฉพาะการนำชมการทำไม้โดยใช้ช้าง ซึ่งนับวันจะหาชมได้ยาก
- การท่องเที่ยวชมงานปลูกป่า เป็นการนำนักท่องเที่ยว เข้าชมการดำเนินงานปลูกสร้าง สวนป่า ทั้งไม้สัก และยางพารา โดยเริ่มตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ การปลูก ดูแลรักษา ตลอดจนเทคนิคขั้นตอนต่างๆ ในการที่จะให้ได้ผลผลิตที่ดีที่สุดในการดำเนินการปลูกสร้างสวนป่า
- การท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในเขตสวนป่า และบริเวณโดยรอบ อาทิ พรุปูราชินี ถ้ำ28 น้ำตกโป่งกระดังงา บึงน้ำทิพย์ ต้นไม้ยักษ์ เป็นต้น
- บริการแพตกปลา สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบตกปลา ชมดวงอาทิตย์ ตกหลังม่านทิวเขาในอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิรลงกรณ์
2.2 ศูนย์ศึกษาธรรมชาติสวนป่าเกริงกระเวีย
ที่ตั้ง หมู่ที่ 4 ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี โทรศัพท์ 034 - 683450
การเดินทาง
เดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดกาญจนบุรี ระยะทางประมาณ 128 กิโลเมตร และเดินทางต่อจาก ตัวจังหวัดถึง อ.ทองผาภูมิ โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 323 ระยะทาง 165 กิโลเมตร จาก อำเภอทองผาภูมิ โดยทางหลวงหมายเลข 323 ระยะทาง 165 กิโลเมตร (ทองผาภูมิ-สังขละบุรี) ระยะทาง 15 กิโลเมตร จะถึงศูนย์ศึกษาธรรมชาติสวนป่าเกริงกระเวีย
ที่พัก/สิ่งอำนวยความสะดวก บ้านพัก 9 หลัง อาคารเอนกประสงค์ 1 หลัง และห้องสัมมนา 1 ห้อง กิจกรรมเดินป่าศึกษาธรรมชาติ, ห้องประชุมสัมมนา
ศูนย์ศึกษาธรรมชาติสวนป่าเกริงกระเวีย
ที่ตั้ง หมู่ที่ 4 ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี โทรศัพท์ 034 - 683450
การเดินทาง
เดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดกาญจนบุรี ระยะทางประมาณ 128 กิโลเมตร และเดินทางต่อจาก ตัวจังหวัดถึง อ.ทองผาภูมิ โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 323 ระยะทาง 165 กิโลเมตร จาก อำเภอทองผาภูมิ โดยทางหลวงหมายเลข 323 ระยะทาง 165 กิโลเมตร (ทองผาภูมิ-สังขละบุรี) ระยะทาง 15 กิโลเมตร จะถึงศูนย์ศึกษาธรรมชาติสวนป่าเกริงกระเวีย
ที่พัก/สิ่งอำนวยความสะดวก บ้านพัก 9 หลัง อาคารเอนกประสงค์ 1 หลัง และห้องสัมมนา 1 ห้อง กิจกรรมเดินป่าศึกษาธรรมชาติ, ห้องประชุมสัมมนา
- รายละเอียด
- เขียนโดย Super User
- หมวด: เมนูผู้ใช้
- ฮิต: 2490
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคกลาง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้
(1) พัฒนาต่อยอดธุรกิจ โดยใช้สวนป่าไม้เศรษฐกิจเป็นฐานและบริหารจัดการสวนป่า
ในความรับผิดชอบตามแนวทางการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืนครบวงจรให้สอดคล้องกับนโยบาย
ของ อ.อ.ป. รวม 25 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา สระแก้ว สิงห์บุรี นครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี สระบุรี ลพบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
(2) ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทางราชการและการดำเนินการเรื่องต่างๆ ในท้องที่
เกี่ยวกับการปลูกสร้างสวนป่าฯ ส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ การบริหารจัดการและใช้ประโยชน์ไม้
ตามนโยบายของรัฐและอื่นๆ
(3) บริหารจัดการสถานที่ในความรับผิดชอบที่มีศักยภาพให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว พัฒนา
ธุรกิจการท่องเที่ยวระบบ Sustainable Eco Tourism เพื่อเพิ่มรายได้ให้สวนป่าต่างๆ จัดสร้างสวนสมุนไพร
แปลงเพาะชำ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เป็นแหล่งเรียนรู้และศูนย์กลางการแก้ปัญหาความยากจนชุมชนใกล้เคียง
(4) บริหารธุรกิจบริการต่างๆ งานจ้างทำไม้ การจัดการสวนป่าฯ การแปรรูปไม้
การนำเข้าส่งออกผลิตภัณฑ์จากสวนป่าฯ และชุมชน และการพัฒนาเครื่องจักรกลเพื่อการทำไม้และสวนป่า
(5) จัดจำหน่ายและให้บริการซื้อมาต่อยอดเพื่อขายไปไม้จากสวนป่า น้ำยางพารา
ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ และสินค้าอื่นๆ เพื่อสร้างฐานรายได้เพิ่มอย่างเป็นรูปธรรม
(6) บริหารทรัพย์สินของหน่วยงานโดยอาศัยจุดแข็งและความได้เปรียบในการแข่งขัน
ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
(7) บริหารจัดการด้านการส่งเสริมธุรกิจชีวมวลจากสวนป่า โดยเปิดโอกาสให้ชุมชน
ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ เพื่อสร้างโอกาสและทางเลือกในการดำเนินธุรกิจของ อ.อ.ป.
(8) กำกับดูแลแก้ไขปัญหาการบุกรุก การลักลอบตัดไม้ทำลายสวนป่า วางมาตรการ
ป้องกันการขัดขวางการปฏิบัติงานโดยปกติของ อ.อ.ป. ให้คำปรึกษาและร่วมแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสังคม
เศรษฐกิจของมวลชน ต่อยอดภูมิปัญญาชาวบ้าน เสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ในและรอบบริเวณสวนป่า อ.อ.ป.
(9) ดำเนินการด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และงานด้านวิชาการต่างๆ ตลอดจนการ
จัดฝึกอบรม เพื่อเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงคุณภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของหน่วยงาน
(10) ดำเนินงานด้านระเบียบ หลักเกณฑ์ และคำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของ
หน่วยงาน
(11) คาดการณ์ วางแผน และบริหารจัดการความเสี่ยงในการดำเนินงานที่รับผิดชอบ
ให้เป็นไปตามเป้าหมาย สามารถป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดจากความเสี่ยงในการดำเนินงาน
(12) ตรวจสอบและกำกับดูแลให้ผู้ปฏิบัติงานประพฤติปฏิบัติตามเกณฑ์องค์กร
ใสสะอาดด้วยความต่อเนื่อง
(13) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องและหรือตามที่ อ.อ.ป. มอบหมาย