วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ อ.อ.ป.
1) วิสัยทัศน์ อ.อ.ป. (FIO's Vision)
“เป็นผู้นําจัดการสวนป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไม้จากป่าปลูก ในปี 2565”
2) พันธกิจ อ.อ.ป. (FIO's Missions)
2.1 พัฒนาที่ดินสวนป่าให้เป็นสวนป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าเศรษฐกิจตามศักยภาพสวนป่า
2.2 ส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ พัฒนาระบบและสร้างกลไกการตลาดไม้เศรษฐกิจอย่างเป็นธรรม
2.3 ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมไม้และส่งเสริมชุมชนท้องถิ่นด้านอุตสาหกรรมไม้
2.4 วิจัยพัฒนาการปลูกและใช้ประโยชน์จากไม้เศรษฐกิจ
2.5 ปรับโครงสร้างทางการเงินทั้งระบบ พัฒนาสินทรัพย์เพื่อสนับสนุนภารกิจขององค์กรให้เกิดประโยชน์ตาม ศักยภาพ สร้างกําไรพอเลี้ยงองค์กร ไม่เป็นภาระต่อรัฐ
2.6 พัฒนาชุมชนท้องถิ่นโดยใช้สวนป่าเป็นฐาน
2.7 สงวน อนุรักษ์ บริบาลช้างไทยและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.8 พัฒนาธุรกิจบริการอย่างครบวงจร พัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว
3) เป้าประสงค์
3.1 พัฒนาและบริหารสวนป่าไม้เศรษฐกิจให้มีผลผลิตที่พอเพียงและมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล เพื่อเป็น ผู้นําในการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน
3.2 ปรับปรุงกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ เพื่อเพิ่มมูลค่าไม้และลด ต้นทุนการผลิตรวมทั้งพัฒนาการตลาดเชิงรุกมีการกระจายสินค้าและเพิ่มจุดจําหน่ายเพื่อเพิ่มยอดจําหน่ายสินค้า
3.3 แก้ปัญหาสภาพคล่อง มีแหล่งเงินลงทุนในอุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่าไม้และบุคลากรมีความสามารถในการ บริหารและวิเคราะห์ทางการเงิน
3.4 เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงส่งเสริมให้พนักงานมีแรงจูงใจและภาคภูมิใจในองค์กร ปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพ
3.5 ธุรกิจบริการและการท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน สามารถสร้างผลกําไรและเติบโตอย่างต่อเนื่อง
3.6 ชุมชนรอบสวนป่ามีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และการบริบาลช้างไทยให้ช้างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ขึ้นสามารถสร้างมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจและสังคมได้
4) ยุทธศาสตร์
สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้มีหนังสือ ที่ กค 0819.2/3973 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 แจ้งความเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อให้ อ.อ.ป. นําไปประกอบการพิจารณาในการจัดทําแผนวิสาหกิจ/แผนธุรกิจ ปี 2562 ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ อ.อ.ป. จึงได้มีการปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์ สาขา ทรัพยากรธรรมชาติ ของ อ.อ.ป. ปี 2561 - 2565 โดยปรับปรุงกิจกรรม/โครงการ ในแต่ละยุทธศาสตร์ตามความเห็น และข้อเสนอแนะของ สคร. และแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจฯ ดังกล่าว ได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม คณะกรรมการของ อ.อ.ป. ในการประชุม ครั้งที่ 8/2561 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 โดยในปี 2562 อ.อ.ป. ได้ ปฏิบัติงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ สาขาทรัพยากรธรรมชาติ ของ อ.อ.ป. ปี 2561 - 2565 มาอย่างต่อเนื่อง
แผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ สาขาทรัพยากรธรรมชาติ ของ อ.อ.ป. ปี 2561 - 2565 ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 กําหนดบทบาทรัฐวิสาหกิจให้ชัดเจนเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 บริหารการลงทุนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว
ยุทธศาสตร์ที่ 4 สนับสนุนการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 และแผน DE
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมระบบธรรมมาภิบาลให้มีความโปร่งใสและมีคุณธรรม
โดยในปี 2563 ได้ดําเนินการตามยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ รายสาขาทรัพยากรธรรมชาติ ของ อ.อ.ป. ปี 2561 - 2565 และแผนการดําเนินงานของ อ.อ.ป. ประจําปี 2563 รวม 10 แผนงาน โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัดในบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานของ อ.อ.ป. ประจำปี 2563 ประกอบด้วย
4.1 โครงการดูแล ขนย้าย ควบคุม และแปรรูปไม้มีค่า (แผนงานเชิงสังคม)
4.2 กิจกรรมการปลูกสร้างสวนป่าเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำ (แผนงานเชิงสังคม)
4.3 กิจกรรมคุ้มครองและอนุรักษ์ช้างไทย (แผนงานเชิงสังคม)
4.4 กิจกรรมการจัดทำแปลงสาธิตบำรุงไม้เศรษฐกิจ (แผนงานเชิงสังคม)
4.5 กิจกรรมเพิ่มผลผลิตในพื้นที่สวนป่าเศรษฐกิจ (แผนงานเชิงพาณิชย์)
4.6 โครงการระดมทุนจากพันธมิตรคู่ค้า (แผนงานเชิงพาณิชย์)
4.7 โครงการร่วมดำเนินงานกับภาคเอกชนเพื่อพัฒนาธุรกิจของ อ.อ.ป. (ปลูกไม้เศรษฐกิจ/อุตสาหกรรมไม้/ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ) (แผนงานเชิงพาณิชย์)
4.8 กิจกรรมการจัดการสวนป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (Sustainable Forest Management : SFM) (แผนงานเชิงพาณิชย์)
4.9 กิจกรรมจัดทำระบบการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสินค้าไม้ (Chain of Custody : COC) (แผนงานเชิงพาณิชย์)
4.10 โครงการพัฒนาการวิจัยเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาปลูกป่าเศรษฐกิจ (แผนงานเชิงสังคม)
สําหรับการดําเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ ในปี 2564 ยังคงดําเนินการต่อเนื่องตามโครงการ/แผนงาน ที่ยังไม่ เสร็จสิ้น เพื่อให้เสร็จสิ้นตามแผนงานตามแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ สาขาทรัพยากรธรรมชาติของ อ.อ.ป. ปี 2561 - 2565 ซึ่งต้องดําเนินการให้เสร็จสิ้นบรรลุเป้าหมาย ในปี 2565
5) กลยุทธ์ของ อ.อ.ป.
5.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 กําหนดบทบาทรัฐวิสาหกิจให้ชัดเจนเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
- กลยุทธ์ที่ 1 ทบทวนบทบาทที่เหมาะสมกับบริบทองค์กรเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ
- กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมการดําเนินงานด้านการอนุรักษ์ วิจัย การเผยแพร่องค์ความรู้ และพัฒนาแหล่ง เรียนรู้ของประชาชน รวมถึงสร้าง/แบ่งปันองค์ความรู้ให้กับประชาชน
- กลยุทธ์ที่ 3 ร่วมมือกับภาคธุรกิจ เพื่อนําองค์ความรู้ไปต่อยอดใช้ประโยชน์
- กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมอาชีพทางเลือก สร้างรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิต ของเกษตรกรด้วยการปลูก ไม้เศรษฐกิจ
5.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 บริหารการลงทุนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ
- กลยุทธ์ที่ 5 การบริหารจัดการการลงทุนให้เกิดประสิทธิภาพ
- กลยุทธ์ที่ 6 การจัดหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมกับการดําเนินธุรกิจ
5.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว
- กลยุทธ์ที่ 7 ฟื้นฟูฐานะองค์กรและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเงิน
- กลยุทธ์ที่ 8 ปรับปรุงพัฒนาและขยายการดําเนินธุรกิจเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม
- กลยุทธ์ที่ 9 บริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์เพื่อเป็นแหล่งรายได้เพิ่มเติม
5.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 สนับสนุนการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 และแผน DE
- กลยุทธ์ที่ 10 นําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินธุรกิจ ของ อ.อ.ป.
- กลยุทธ์ที่ 11 นําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กร
5.5 ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมระบบธรรมมาภิบาลให้มีความโปร่งใสและมีคุณธรรม
- กลยุทธ์ที่ 12 ทบทวนการบริหารจัดการและโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับบทบาทและภาระกิจ ตามหลักเกณฑ์การบริหารจัดการที่ดีและหลักธรรมมาภิบาล
- กลยุทธ์ที่ 13 การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
อ.อ.ป. ได้จัดทําแผนดําเนินงาน ปี 2564 เพื่อขับเคลื่อนการดําเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่สอดคล้องกับ 5 ยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ สาขาทรัพยากรธรรมชาติของ อ.อ.ป. ปี พ.ศ. 2561 - 2565
6) แผนที่ยุทธศาสตร์
อ.อ.ป. จัดทําแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Maps) ตามแนวทางระบบบริหารจัดการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเชิง เศรษฐศาสตร์ (Economic Value Management : EVM) และระบบประเมินผลเชิงดุลยภาพ (Balanced Scorecard : BSC) ที่พิจารณาถึงความสมดุลของมุมมองทั้ง 4 ด้าน คือ มุมมองด้านการเงิน (Financial) มุมมองด้าน ลูกค้า (Customer) มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process) และมุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต (Learning & Growth) เพื่อการปฏิบัติและการสื่อสารที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
ฮิต: 1619