:: ประวัติ อ.อ.ป. ภาคใต้ ::
image
สำนักส่งเสริมและพัฒนาไม้เศรษฐกิจภาคใต้ (ส.ศต.) เป็นหน่วยงานส่วนภูมิภาคในสังกัด องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจาก มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2502 “ ให้ อ.อ.ป.รับซื้อไม้ของกลางเสียทั้งสิ้นโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ” และ “ ให้ อ.อ.ป.เป็นผู้ทำ ไม้นอกเขตป่าโครงการประเภทต่างๆ 7 ประเภท ” ดังนั้น อ.อ.ป.จึงเริ่มต้นขยายงานออกจากภาค เหนือ เป็นการทำไม้ทั่วทั้งประเทศ โดยเฉพาะทางภาคตะวันตกและใต้ได้ขยายหน่วยงานขึ้นอีก 2 หมวด ทำไม้ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2502 ดังนี้
ก. หมวดทำไม้กระยาเลยสุราษฎร์ธานี สำนักงานตั้งอยู่ ณ ที่ทำการแผนกไม้กระยาเลย สำนักงานกลาง อ.อ.ป.จังหวัดพระนคร ควบคุมการทำไม้กระยาเลยในเขตจังหวัด สุราษฎร์ธานี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์
ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง พังงา กระบี่ ระนอง ตรัง ภูเก็ต ปัตตานี สตูล ยะลา และนราธิวาส
ข. หมวดทำไม้กระยาเลยปราจีนบุรี สำนักงานตั้งอยู่ ณ ที่ทำการแผนกไม้กระยาเลย สำนักงานกลาง อ.อ.ป.จังหวัดพระนครควบคุมการทำไม้กระยาเลยในเขตจังหวัด ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายกนครปฐม ชลบุรี ตราด ระยอง จันทบุรี สระบุรี ลพบุรี อ่างทอง พระ
นครศรีอยุธยา ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2503 เพื่อสะดวกในการควบคุม        
ปราบปรามการลักลอบตัดฟันไม้ ทำลายป่า และรักษาระดับปริมาณการผลิตและราคาไม้ให้เหมาะสมกับความจำเป็นของสถานการณ์และ ความต้องการของรัฐ ให้ อ.อ.ป.ทำไม้สักและไม้
ยางแต่ผู้เดียว ดังนั้น อ.อ.ป.จึงจำเป็นต้องขยายงานขึ้นอีก โดยปรับปรุงหน่วยงานใน “แผนกไม้กระยาเลย” เสียใหม่เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2503 โดยเพิ่มหมวดทำไม้กระยาเลยบ้านโป่ง ขึ้น
ตรงกับแผนกไม้กระยาเลย อ.อ.ป.สาขาปราจีนบุรี ควบคุมงานในเขตจังหวัด กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม ตั้งสำนักงานอยู่กับแผนกไม้กระยาเลย ภาคใต้ เพิ่มแผนกไม้กระยา
เลย อ.อ.ป.สาขาสุราษฎร์ธานี ตั้งสำนักงานอยู่อำเภอเมือง จังหวัดสุราษร์ธานี ขึ้นตรงกับ “แผนกไม้กระยาเลย” ควบคุม “หมวดทำไม้กระยาเลย ” 7 หมวด รับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดตั้งแต่
จังหวัดเพชรบุรีลงไปจนถึงจังหวัดนราธิวาส ปี พ.ศ.2509 โดยมติคณะกรรมการ อ.อ.ป.ให้ยกเลิก “แผนกไม้สัก” และ “แผนกไม้กระยาเลย”เดิมเสีย และจัดตั้งหน่วยงานใหม่โดยรวมงานไม้
สักและไม้กระยาเลยให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกัน เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2509 โดยแบ่งงานออกเป็น “กองทำไม้ภาคเหนือ” “กองทำไม้ภาคตะวันตกและใต้” และ “กองทำไม้ภาคตะวันออก
     และตะวันออกเฉียงเหนือ” โดยในส่วนของกองทำไม้ภาคตะวันตกและใต้ โดยมีวัตถุประสงค์ มีแผนกทำไม้สาขา 3 สาขา คือ
   - แผนกทำไม้สาขาบ้านโป่ง
   - แผนกทำไม้สาขาสุราษฎร์ธานี
   - แผนกทำไม้สาขาหาดใหญ่
การก่อตั้งฝ่ายทำไม้ภาคตะวันตกและใต้ เมื่อปี 2519 อ.อ.ป.ได้มีการปรับปรุงรูปงานใหม่เปลี่ยนการเรียกชื่อ จาก กองทำไม้ภาคตะวันตกและใต้ เป็น ฝ่ายทำไม้ภาคตะวันตกและใต้ จาก แผนก เป็น ส่วน จาก หมวด เป็น งาน ต่อมาในปี 2536 มีการปรับปรุงโครงสร้างเปลี่ยนชื่อจาก ฝ่ายทำไม้ภาคตะวันตกและใต้ เป็น ฝ่ายอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคตะวันตกและใต้ และจาก ส่วน เป็น อุตสาหกรรมป่าไม้เขตและในปี 2545 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานอีกครั้งเปลี่ยนชื่อ จาก ฝ่ายอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคตะวันตกและใต้ เป็น สำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าภาคใต้ และจาก อุตสาหกรรมป่าไม้เขต เป็น สำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาภูมิภาค โดยรับผิดชอบพื้นที่ในภาคตะวันตกและภาคใต้ รวม 22 จังหวัดและเพื่อให้มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในปี 2548ได้มีการปรับโครงสร้างหน่วยงานใหม่อีกครั้ง โดยยังคงใช้ชื่อเดิม คือ สำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าภาคใต้ แต่มีการปรับเปลี่ยนหน่วยงานระดับภูมิภาค โดยโอนย้ายสำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าบ้านโป่ง ไปสังกัดสำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าภาคกลาง ำให้มีหน่วยงานในระดับสำนักงานภูมิภาค 3 สำนักฯ คือ
- สำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าชุมพร
- สำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าสุราษฎร์ธานี
- สำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าหาดใหญ่
รับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ รวม 14 จังหวัด ในเดือนมิถุนายน 2548 สำนักงานอนุรักษ์และพัฒนา-สวนป่าภาคใต้ ได้ย้ายที่ตั้งจากกรุงเทพมหานคร มายัง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อให้การบริหารงานมีความสะดวกคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อจาก สำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าภาคใต้ เป็น สำนักส่งเสริมและพัฒนาไม้เศรษฐกิจภาคใต้ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 แต่ในส่วนของ สำนักงาน-อนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าภูมิภาค ยังคงใช้ชื่อเดิม และมี 3 สำนักเหมือนเดิมไม่มีเปลี่ยนแปลง