Page 7 - องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
P. 7
การจัดการสวนป่ าเพื่อความยั่งยืนด้านสังคม
( Social Sustainability )
โดยกิจกรรมต่างๆ ที่สวนป่ าด าเนินการทั้งปัจจุบันและในอนาคต ต้องเป็นที่ยอมรับจาก
สังคมและเอื้อประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้งมีผลตอบแทนกลับสู่สังคม โดยเฉพาะสังคมท้องถิ่นใกล้เคียงรอบ
พื้นที่สวนป่ า เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาสังคม ตลอดจนคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
ซึ่งมีแนวทางในการบริหารจัดการสวนป่ าเพื่อความยั่งยืนด้านสังคม ดังนี้.-
1) จ้างแรงงานในอัตราค่าจ้างที่สอดคล้องกับประกาศอัตราค่าจ้างของกระทรวงแรงงานฯ
2) รักษาระดับอัตราค่าจ้างให้สอดคล้องกับประกาศของกระทรวงแรงงานฯในแต่ละปี
3) พิจารณาจ้างแรงงานจากชุมชนท้องถิ่นใกล้สวนป่ า เป็นล าดับแรก
4) ปฏิบัติตามข้อตกลงของ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( ILO )
5) จัดท าประกันอุบัติเหตุกลุ่มให้กับคนงานของสวนป่ า
6) มีสวัสดิการด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
7) มีการฝึกอบรมให้ความรู้แก่คนงานและพนักงานของสวนป่ า
8) จ าหน่ายไม้สักของสวนป่ าประมาณ 20 % ให้กับชุมชนท้องถิ่น
9) จัดที่ดินท ากินและปลูกสร้างที่อยู่อาศัย ให้กับสมาชิกหมู่บ้านป่ าไม้
10) ส่งเสริมการปลูกพืชเกษตรควบแบบระบบวนเกษตร ในพื้นที่สวนป่ าของชุมชนท้องถิ่น
11) ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของชุมชนท้องถิ่น
12) ส่งเสริมระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
13) สนับสนุนด้านการศึกษา อุปกรณ์ด้านการศึกษาและการกีฬา
14) สนับสนุนด้านศาสนาให้กับชุมชนท้องถิ่น
15) มีโครงการความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่น SP : องค์การอุตสาหกรรสป่าไม้
16) สนับสนุนวัตถุดิบ ให้กับโครงการ OTOP ของชุมชนท้องถิ่น
17) ส่งเสริมอุตสาหกรรมไม้ต่อเนื่องของชุมชนท้องถิ่น
18) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการสวนป่ า
19) ส่งเสริมและเคารพสิทธิในด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรม และประเพณีของชนพื้นเมือง
20) ส่งเสริมด้านการตลาดให้กับสมาชิกหมู่บ้านป่ าไม้และชุมชนท้องถิ่น
21) มีระบบแก้ไขข้อขัดแย้งกับชุมชนท้องถิ่นโดยชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วม
22) มีพนักงานสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนท้องถิ่น 7
23) มีระบบการตรวจสอบติดตามผลกระทบด้านสังคม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น
24) อื่นๆ