Page 82 - รายงานประจำปี 2561
P. 82
สวนป่า ประกอบด้วย สวนป่ายางพาราโครงการ 1 - 6 สินทรัพย์ระหว่างดำาเนินการ - สวนป่ายางพารา
โครงการ 1 - 6 สวนป่าเพื่อการอนุรักษ์โครงการ 1 - 6 สินทรัพย์ระหว่างดำาเนินการ - สวนป่าอนุรักษ์โครงการ 1 - 6 ซึ่งการ
จัดประเภทถือตามวัตถุประสงค์หลักขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ในการดำาเนินการปลูกสร้างสวนป่าเพื่ออนุรักษ์
หรือเพื่อจำาหน่ายผลิตผลพลอยได้นำาไปแสดงรายการอยู่ในกลุ่มที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ - สุทธิ และสวนป่า ในหัวข้อสินทรัพย์
ไม่หมุนเวียน สำาหรับสวนป่าแปลงใหม่บันทึกรวมในรายการเป็นสินทรัพย์ระหว่างดำาเนินการ - สวนป่าเพื่อการอนุรักษ์
โครงการ 1 - 6 เมื่อต้นไม้โตตามเกณฑ์ที่สามารถนำาใช้งานได้แล้วให้ปรับปรุงบัญชีเป็นสวนป่าเพื่อการอนุรักษ์โครงการ 1 - 6
2.12 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน – โปรแกรมคอมพิวเตอร์
สิทธิการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมามีลักษณะเฉพาะบันทึกเป็นสินทรัพย์ โดยคำานวณจากต้นทุน
ในการได้มาและการดำาเนินการให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้ สามารถนำามาใช้งานได้ตามประสงค์ โดยจะตัดจำาหน่ายตลอดอายุ
ประมาณการให้ประโยชน์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
ต้นทุนที่ใช้ในการพัฒนา และบำารุงรักษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดขึ้น
ต้นทุนโดยตรงในการจัดทำาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เป็นผู้ดูแล และมีลักษณะเฉพาะเจาะจง
ซึ่งอาจให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่มากกว่าต้นทุนเป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีจึงจะบันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ต้นทุนโดยตรง
รวมถึงต้นทุนพนักงานที่ทำางานในทีมพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในจำานวนเงินที่เหมาะสม
ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาประสิทธิภาพของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้สูงขึ้นกว่าเมื่อได้มา จะบันทึกเป็นต้นทุน
เพื่อการพัฒนาและบวกรวมไว้ในต้นทุนเมื่อได้มา ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น ต้นทุนในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
จะรับรู้เป็นสินทรัพย์ และตัดจำาหน่ายโดยวิธีเส้นตรงตลอดอายุการให้ประโยชน์ตามประมาณการแต่ไม่เกิน 5 ปี
2.13 การด้อยค่าของสินทรัพย์
สินทรัพย์และสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอายุการใช้งานจำากัด จะมีการทบทวนการด้อยค่าเมื่อมีเหตุการณ์
หรือสถานการณ์บ่งชี้ว่าราคาตามบัญชีอาจสูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน รายการขาดทุนจากการด้อยค่าจะรับรู้
เมื่อราคาตามบัญชีของสินทรัพย์สูงกว่ามูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับคืน ซึ่งหมายถึงจำานวนที่สูงกว่าระหว่างมูลค่าตามราคาทุน
หักต้นทุนในการขายเทียบกับมูลค่าจากการใช้สินทรัพย์จะถูกจัดเป็นหน่วยเล็กที่สุดที่สามารถแยกออกมาได้เพื่อวัตถุประสงค์
ของการประเมินการด้อยค่าสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงินจะมีการประเมินความเป็นไปได้ที่จะกลับรายการขาดทุน
จากการด้อยค่า ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน
2.14 รายการรอการรับรู้
เป็นสินทรัพย์ที่ได้รับบริจาค โดยมีเงื่อนไขในการใช้จ่ายสินทรัพย์นั้น หรือเงินที่รับจากรัฐบาล
โดยมีเงื่อนไขในการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล สินทรัพย์ที่ได้รับบริจาคและเงินอุดหนุนที่ให้ประโยชน์
เกิน 1 รอบระยะเวลาบัญชี องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จะรับรู้เป็นสินทรัพย์คู่กับรายการรอการรับรู้ และจะทยอยรับรู้
รายการรอการรับรู้เป็นรายได้จากการรับบริจาคหรือรายได้เงินอุดหนุนรัฐบาลคู่กับบัญชีค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ หรือค่าใช้จ่าย
ที่เกี่ยวข้องโดยตรงเมื่อองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้ดำาเนินการตามวัตถุประสงค์ของผู้ให้เงินแล้ว
2.15 เงินช่วยเหลือโครงการวนวัฒนวิทยา
มูลนิธิวนวัฒนวิทยาโพ้นทะเล อู - เมด้า (OSC – U) ได้ให้เงินช่วยเหลือกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ใช้ปลูกป่าในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่อยู่ในความดูแลของ
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยสำาหรับนักวิชาการที่สนใจทั่วไป ทั้งภายในและต่างประเทศ โครงการ
ดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2535 - ปัจจุบัน ในเนื้อที่ 14,420.50 ไร่ (ปลูกได้จริง 18,430.601 ไร่) ซึ่งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
จะบันทึกเงินช่วยเหลือดังกล่าวไว้เป็นหนี้สิน และจะทยอยรับรู้เป็นรายได้เมื่อองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้ดำาเนินการ
ปลูกสร้างสวนป่าตามวัตถุประสงค์ของผู้ให้เงินแล้ว การปลูกสร้างสวนป่าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ แบ่งเป็น 5 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 : จำานวน 4,623 ไร่ ที่สวนป่าคลองตะเกรา จังหวัดฉะเชิงเทรา และสวนป่านำ้าสวยห้วยปลาดุก จังหวัดเลย
ระยะที่ 2 : จำานวน 703 ไร่ ที่สวนป่าทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
ระยะที่ 3 : จำานวน 2,069.50 ไร่ ที่สวนป่าองค์พระ และสวนป่าด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี , สวนป่าท่ากุ่ม
จังหวัดตราด , สวนป่าโป่งนำ้าร้อน จังหวัดจันทบุรี และสวนป่าคลองตะเกรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
ระยะที่ 4 : จำานวน 2,325 ไร่ ที่สวนป่าภูสวรรค์ , สวนป่านำ้าสวยห้วยปลาดุก อำาเภอนาด้วง และ
สวนป่านาด้วง จังหวัดเลย , สวนป่าห้วยนำ้าขาว จังหวัดกระบี่ และสวนป่าเกริงกระเวีย จังหวัดกาญจนบุรี
หน้า 78 รายงานประจำาปี 2561 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้