Page 57 - รายงานประจำปี 2561
P. 57
รายงานคณะกรรมการตรวจสอบองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ประจำาปี 2561
คณะกรรมการตรวจสอบองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้รับการพิจารณาแต่งตั้งจากคณะกรรมการของ
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ตามคำาสั่งที่ 8/2561 ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561 ประกอบด้วย
1. นายพีรพันธ์ คอทอง เป็นประธานกรรมการ
2. นางวชิรญา เพิ่มภูศรี เป็นกรรมการ
3. นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล เป็นกรรมการ
คณะกรรมการตรวจสอบองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ในปี 2561 คณะกรรมการ
ตรวจสอบองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ มีการประชุมรวม 9 ครั้ง และนำาเสนอรายงานผลการดำาเนินงานต่อคณะกรรมการ
ตรวจสอบองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เป็นประจำาทุกไตรมาส และสรุปผลการดำาเนินงานที่สำาคัญได้ ดังนี้
1. การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติของกระทรวงการคลัง
1.1 สอบทานรายงานทางการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจำาปีกับฝ่ายบริหาร และสำานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เกี่ยวกับความเหมาะสมของนโยบายการบัญชี
ให้มีการปรับค่า EP ให้สูงขึ้น โดยการบริหารจัดการภายในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างมูลค่าสินค้าให้มากขึ้น
สอบทานความเพียงพอในการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้รายงานทางการเงินแสดงผลการดำาเนินงานและฐานะการเงินด้วยข้อมูล
ที่เป็นสาระสำาคัญอย่างเพียงพอ ถูกต้อง เชื่อถือได้ โดยได้มีข้อสังเกตให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ควรปรับค่า EP ให้สูงขึ้น
โดยการบริหารจัดการภายในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างมูลค่าสินค้าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ให้มากยิ่งขึ้น
และมีการนำาค่า EP มาบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ด้วย ในเรื่องมาตรการประหยัดค่าใช้จ่าย
ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ไม่ควรมีผลกระทบเกี่ยวกับการดำาเนินงานขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และควรสอบทานว่า
แต่ละหน่วยงานสามารถควบคุมและลดค่าใช้จ่ายได้จริง และผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการออกแบบใหม่ยังไม่สามารถเพิ่มรายได้
ให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้ และควรตรวจสอบกับหน่วยงานที่ผลิตว่าสามารถผลิตได้จริงตามที่ออกแบบไว้
ในส่วนการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินงวดเก้าเดือน ในปี 2561 โดยเห็นว่า องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้มีความเสี่ยง
ทางด้านสภาพคล่องทางการเงิน และความสามารถในการสร้างกำาไร ควรมีแผนเร่งรัดรายได้และควรทบทวนการวางแผน
กลยุทธ์ทางการเงิน และแผนระยะยาว 10 - 15 ปี
1.2 การควบคุมภายใน
กำากับดูแลให้มีการจัดวางระบบการควบคุมภายในให้มีการส่งผ่านองค์ความรู้ และการพัฒนาองค์ความรู้
เพื่อใช้ในการดำาเนินงาน และสามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อเตรียมรับมือ อาทิเช่น โรคแมลงในสวนป่า
ให้มีหน่วยงานสนับสนุนในส่วนกลาง ร่วมรับผิดชอบในกิจกรรมควบคุมและการประเมินการควบคุมด้วยตนเอง
ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำาหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน ปี พ.ศ. 2544 หน่วยงานจะต้อง
ปฏิบัติตามกิจกรรมการปรับปรุง การควบคุมให้เกิดผลการปฏิบัติงาน และมีการสอบทานการปฏิบัติงานจากผลคะแนน
การประเมินองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ควรเน้นการติดตามการปฏิบัติงานให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น และให้หน่วยงาน
รับทราบงานที่จะต้องปฏิบัติ มีการนำาข้อสังเกตของคณะอนุกรรมการกำากับดูแลการบริหารจัดการองค์กร
ด้านการบริหารความเสี่ยงองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ การดำาเนินงานตามกิจกรรม การปรับปรุงการควบคุมภายใน
ยังไม่เพียงพอ และเหมาะสมกับความเสี่ยงที่ยังมีอยู่ของกระบวนการปฏิบัติงาน ควรมีการปรับปรุงการควบคุมบางรายการ
ที่ทำาให้ความเสี่ยงยังคงอยู่ และควรดำาเนินการให้เป็นรูปธรรมโดยมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน กำากับ เร่งรัด ติดตามเพื่อใช้
ในการดำาเนินงาน และสามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อเตรียมการรับมือโดยใช้เครื่องมือในการสอบทาน
กำากับ ดูแล ควบคุม มีเอกสาร หลักฐาน เช่น
การลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์ ควรมีหลักฐานการลงพื้นที่ ควรมีรูปภาพประกอบการรายงาน
หรือการจัดประชุมชี้แจงราษฎร การประชุมต่างๆ จำานวนกี่ครั้ง และต้องมีรายงานการประชุมประกอบ
การขออนุญาตทำาไม้ล่วงหน้า 1 ปี ควรมีการจัดทำาขั้นตอนการขออนุญาต โดยมีระยะเวลาที่ใช้
ในแต่ละขั้นตอนเพื่อดำาเนินการสอบทานการปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอนเพื่อให้ได้ใบอนุญาตสามารถทำาไม้ได้ตามแผน
การรายงานผลการดำาเนินงานผ่านระบบ e - form จะทำาให้การรายงานและประมวลผลรวดเร็ว
และถูกต้อง (แผนดิจิทัลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ควรมีการจัดทำาระบบ e - form ในแผนด้วย)
รายงานประจำาปี 2561 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ หน้า 53