Page 58 - รายงานประจำปี 2561
P. 58
1.3 การตรวจสอบภายใน
ให้ความเห็นชอบกฎบัตรของฝ่ายตรวจสอบภายใน คู่มือการตรวจสอบภายใน และแผนการตรวจสอบประจำาปี
กำากับดูแลงานตรวจสอบภายในให้เป็นตามแผนตรวจสอบภายในประจำาปี และให้ฝ่ายตรวจสอบภายในยึดถือจรรยาบรรณ
และมาตรฐานการปฏิบัติงานตรวจสอบ โดยสอบทานรายงานผลการตรวจสอบและผลการติดตามการปรับปรุง
ตามข้อเสนอแนะเป็นประจำาทุกไตรมาส ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ระบบงานที่สำาคัญมีข้อบังคับ ระเบียบ คำาสั่ง และวิธีปฏิบัติที่เพียงพอ
วัตถุประสงค์ที่ได้พบกับผู้บริหารควรเน้นในเรื่องของความสำาคัญของการตรวจสอบ ในเรื่องประเด็นปัญหา
และในเรื่องของการตรวจสอบผู้อำานวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ควรให้ความสำาคัญกับการตรวจสอบภายใน
ว่าเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติงานของทุกคนในองค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายองค์กร ลดโอกาส ความผิดพลาด
เพิ่มโอกาสความสำาเร็จ บรรลุวัตถุประสงค์ได้ชัดเจนตามที่ต้องการมากขึ้น และบุคลากรเจ้าหน้าที่ตรวจสอบจะทำาหน้าที่ได้ดี
ต้องอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญ ควรมีประสบการณ์ในการทำางาน มีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจการดำาเนินงานขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
และมีความรู้เรื่องกฎระเบียบ ข้อบังคับ เป็นอย่างดีด้วย และควรเสนอให้คณะกรรมการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
พิจารณาร่วมกับผู้อำานวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ในเรื่องอัตรากำาลังและโครงสร้างของสำานักตรวจสอบภายใน
ให้มีประสิทธิภาพในการทำางาน และควรให้สำานักบริหารกลาง กำาหนดหลักสูตรและงบประมาณในการพัฒนาบุคลากร
ด้านการตรวจสอบภายใน เนื่องจากเป็นสิ่งที่สำาคัญ จึงขอให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้พิจารณาสนับสนุน และสำานักตรวจสอบ
ภายใน ควรวิเคราะห์ในแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติงาน และแผนการตรวจสอบประจำาปี จะต้องดำาเนินการอย่างไร เพื่อให้คะแนน
การประเมินผลการดำาเนินงานการบริหารจัดการองค์กร ด้านการตรวจสอบภายใน ให้อยู่ในระดับคะแนนที่ 3.0 - 3.5
ในเรื่องของคุณภาพไม้ที่นำาเข้าแปรรูปที่ไม่ได้มาตรฐาน องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ควรมีการซักซ้อม
แนวทางปฏิบัติงานให้กับพนักงานใหม่ให้มีความรู้ และความเข้าใจระเบียบแนวทางปฏิบัติงาน เรื่องการจัดการประสิทธิภาพ
ของการจัดการสวนป่า เรื่องของคุณภาพของไม้ ซึ่งเป็นเรื่องสำาคัญและควรมีการพัฒนาสินค้าเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น หรือเพิ่มช่องทาง
การหารายได้ ซึ่งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้อาจมีการจัดโปรแกรมในรูปแบบใหม่ๆ เช่น การอุปถัมภ์ช้างเป็นรายปี อาจทำาให้
ถึงระดับสากล รวมถึงองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ควรนำาเสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
ให้ช่วยพิจารณาหาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และให้มีการปฏิบัติงานในการวางแผนธุรกิจท่องเที่ยวหรือบริการ
ที่ชัดเจนโดยเร็วเพื่อลดปัญหาสภาพคล่องขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ส่วนแนวทางการจัดทำาแผนบริหารความเสี่ยง
ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ประจำาปี 2562 ดังนี้
1) การระบุความเสี่ยง ควรคำานึงถึงความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นอย่างมาก
2) รายการความเสี่ยงที่สำาคัญขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ประกอบด้วย
2.1) ด้านคุณภาพไม้ท่อน
2.2) ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์
2.3) ด้านการสร้างรายได้ให้เป็นไปตามเป้าหมายหรือสูงกว่าเป้าหมายโดยอาจมีการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่
2.4) ด้านค่าใช้จ่าย ต้องควบคุมให้มีประสิทธิภาพ
2.5) ด้านลูกหนี้ และเจ้าหนี้ ต้องมีการติดตาม บริหารจัดการ
ในเรื่องของเครื่องจักรที่มีอายุการใช้งานนาน ในงบลงทุนปี 2562 ไม่ได้ระบุไว้ในแผนเหตุผลใด
จึงเป็นเช่นนั้น เห็นควรให้สำานักนโยบายแผนและยุทธศาสตร์ พิจารณาความเป็นไปได้ และเหมาะสมต่อไป
1.4 การบริหารความเสี่ยง
ติดตามความคืบหน้าของการบริหารความเสี่ยงองค์กรและผลการดำาเนินงานตามแผนฯ เป็นประจำาทุกไตรมาส
เนื่องจากเห็นว่าการบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องสำาคัญที่จะทำาให้มั่นใจว่าการดำาเนินงานขององค์กร จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์
จะต้องคำานึงถึง ดังนี้
1) พิจารณาคัดเลือกการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงสูงที่เป็นรายได้หลัก และค่าใช้จ่ายหลักมาทำาแผนบริหาร
ความเสี่ยงขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เนื่องจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้มีข้อจำากัดของบุคลากรมาบริหารความเสี่ยง
2) กิจกรรมการบริหารความเสี่ยง ควรเป็นกิจกรรมหรือมาตรการที่บริหารจัดการแล้วทำาให้
การดำาเนินงานได้บรรลุตามเป้าหมาย ไม่ใช่กิจกรรมการดำาเนินงานตามปกติ
3) นำาบันทึกข้อตกลงขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ มาพิจารณาเพื่อดูความสอดคล้องของแผนยุทธศาสตร์
และแผนบริหารความเสี่ยง
4) ให้มีหน่วยงานสนับสนุนในสำานักงานกลางร่วมรับผิดชอบในกิจกรรมควบคุม
หน้า 54 รายงานประจำาปี 2561 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้