Page 59 - รายงานประจำปี 2561
P. 59

5)  เนื่องจากผลการดำาเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงบางแผนตำ่ากว่าเป้าหมายมาก  จึงให้ทบทวน  แผน
             บริหารความเสี่ยง  ให้มีความเป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้น  และนำาเสนอผู้บริหารพิจารณา  ทบทวน  ศึกษา  วิเคราะห์  โดยพิจารณาถึง
             ประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยง
                           6)  ในการรายงานผลการดำาเนินงาน  ขอให้ผู้บริหารที่รับผิดชอบการดำาเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยง
             (ผู้อำานวยการสำานักและรองผู้อำานวยการ)  เข้าร่วมประชุมเพื่อร่วมพิจารณาแก้ไขปัญหา  อุปสรรค  และประสิทธิภาพ
             ประสิทธิผลของแผนบริหารความเสี่ยง  และให้เลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเร่งรัดดำาเนินการจัดทำา
             แผนบริหารความเสี่ยงขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ปี 2562
                           7)  ให้นำารายงานทางการเงินที่มีค่าตัวชี้วัดต่างๆ  เช่น  ค่ากำาไรจากการดำาเนินงาน  (ebida)  ดีขึ้น  และ
             มีข้อบกพร่องลดลง ตัวชี้วัดเหล่านี้ต้องนำามาประกอบการรายงานความก้าวหน้า

                       1.5  การกำากับดูแลกิจการที่ดี
                           สอบทานการดำาเนินการ  ตามหลักการกำากับดูแลกิจการที่ดีร่วมกับฝ่ายบริหาร  และมีการแลกเปลี่ยน
             ความคิดกับผู้บริหารระดับสูงในเรื่องเกี่ยวกับผลการดำาเนินงานที่ผ่านมา  แนวโน้มในอนาคตการบริหารงานตามนโยบาย
             การพัฒนาธุรกิจในอนาคตและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
                       1.6  การรักษาคุณภาพของคณะกรรมการตรวจสอบองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
                           คณะกรรมการตรวจสอบองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้  มีการทบทวนและปรับปรุงกฎบัตรของ
             คณะกรรมการตรวจสอบองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้  โดยให้เพิ่มข้อความ  “การปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ

             องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้  ให้เป็นไปตามคู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการตรวจสอบที่จัดทำาขึ้น  โดยสำานักงาน
             คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง และกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และตัดบทเฉพาะกาล ข้อ 19 ออก”
             และได้มีการประเมินตนเองในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้  เป็นประจำาทุกปี
             เพื่อปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                   2.  ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการในอนาคตขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
                       คณะกรรมการตรวจสอบองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้  ได้ร่วมประชุมหารือ  และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
             กับผู้บริหารระดับสูงขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้  เกี่ยวกับผลการดำาเนินงานที่ผ่านมา  และทิศทางการดำาเนินงานในอนาคต
             ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้  ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้  ได้มีข้อเสนอแนะที่เป็นประเด็น
             ทางยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ มีความเติบโตอย่างยั่งยืน ดังนี้

                       2.1  การดำาเนินธุรกิจการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
                           องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้  ได้ดำาเนินธุรกิจหลักด้านการปลูกสร้างสวนป่าเศรษฐกิจและธุรกิจป่าไม้
             เป็นกิจกรรมที่ดำาเนินการมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 จนถึงปัจจุบัน  มีพื้นที่สวนป่าเศรษฐกิจอยู่ 1,158,000 ไร่ จำานวน 245 สวนป่า
             กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยมีชนิดไม้หลัก ซึ่งเป็นไม้เศรษฐกิจ 3 ชนิด ได้แก่
                           2.1.1  สวนป่าไม้สัก  มีพื้นที่ปลูกประมาณ  601,000  ไร่  ผลผลิตไม้ซุงสักสวนป่าจำาหน่ายเพื่อการใช้สอย
             ภายในประเทศ และมีการนำาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สินค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าในปริมาณที่ยังน้อยมาก และยังพบปัญหาการระบาด
             ของแมลง (หนอนผีเสื้อ) เจาะต้นสัก

                           2.1.2  สวนป่าไม้ยูคาลิปตัส มีพื้นที่ปลูกประมาณ 107,000 ไร่ ผลผลิตต่อไร่โดยเฉลี่ยประมาณ 8 - 12 ตัน
             ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับค่อนข้างตำ่า มีการจำาหน่ายส่วนใหญ่จะจำาหน่ายเป็นไม้ท่อน/นำ้าหนักเป็นตัน หรือเหมาเป็นไร่
                           2.1.3  สวนป่าไม้ยางพารา  มีพื้นที่ปลูกประมาณ  86,000  ไร่  ดำาเนินการในรูปการผลิตไม้ซุงยางพารา
             และนำ้ายางพารา โดยได้มีการสนองนโยบายของรัฐในการปรับลดพื้นที่การปลูกยางพารา  มุ่งเน้นการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจชนิดอื่นทดแทน
                           2.1.4  สวนป่าปลูกไม้มีค่าชนิดอื่นๆ  มีพื้นที่ปลูกประมาณ  364,000  ไร่  ดำาเนินการในรูปแบบ
             การปลูกสร้างสวนป่า เพื่อการอนุรักษ์และบริการด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
                           จะเห็นได้ว่า  ในอนาคตการเติบโตของธุรกิจหลักด้านการปลูกสร้างสวนป่าเศรษฐกิจและธุรกิจป่าไม้
             โดยเฉพาะสวนป่าไม้สัก อาจจะประสบปัญหาด้านคุณภาพไม้ซุงสัก อันจะส่งผลกระทบไปยังธุรกิจอุตสาหกรรมป่าไม้  อันส่งผล
             ทำาให้รายได้หลักจากการจำาหน่ายไม้สักสวนป่าลดลง  ดังนั้น  องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้  จะต้องมีการวิเคราะห์และ

             ใช้ข้อมูลผลผลิตไม้ซุงสักสวนป่าในเชิงคุณภาพ  โดยให้นำาปัญหาที่พบอยู่ในปัจจุบันเพื่อคาดการณ์ผลผลิตในอนาคตที่อาจได้รับ
             ผลกระทบจากโรคระบาดหรือแมลงเจาะทำาลายเนื้อไม้ เพื่อจัดทำาแผนการปลูกสร้างสวนป่าไม้สัก ระยะยาว 10 - 15 ปี รวมถึงให้มี
             การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพื่อพิจารณาปรับปรุงการดำาเนินงานของธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายหลักขององค์กร


             รายงานประจำาปี 2561 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้                                                 หน้า 55
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64