Page 75 - รายงานประจำปี 2562 (แก้ไข 30 ต.ค.63)
P. 75
รายงานคณะกรรมการตรวจสอบองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ประจ าปี 2562
คณะกรรมการตรวจสอบองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้รับการพิจารณาแต่งตั้งจากคณะกรรมการขององค์การ-
อุตสาหกรรมป่าไม้ ตามค าสั่งที่ 8/2561 ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2561 ประกอบด้วย
1. นายพีรพันธ์ คอทอง เป็นประธานกรรมการ
2. นางวชิรญา เพิ่มภูศรี เป็นกรรมการ
3. นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล เป็นกรรมการ
คณะกรรมการตรวจสอบองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ในปี 2562
คณะกรรมการตรวจสอบองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ มีการประชุมรวม 12 ครั้ง และน าเสนอรายงานผลการด าเนินงานต่อ
คณะกรรมการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เป็นประจ าทุกไตรมาส และสรุปผลการด าเนินงานที่ส าคัญได้ ดังนี้
1. การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ และแนวทางปฏิบัติของกระทรวงการคลัง
1.1 สอบทานรายงานทางการเงินรายไตรมาส และงบการเงินประจ าปี กับฝ่ายบริหาร และส านักงาน
การตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เกี่ยวกับความเหมาะสมของนโยบายการเงิน
และการบัญชี เพื่อให้รายงานทางการเงินได้แสดงผลการด าเนินงาน และฐานะการเงินในปัจจุบัน และแนวโน้มอนาคตด้วย
ข้อมูลที่เป็นสาระส าคัญอย่างเพียงพอ ถูกต้อง เชื่อถือได้ โดยได้มีข้อสังเกตให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ควรพิจารณา ดังนี้
- เนื่องจากธุรกิจหลักขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ที่สร้างรายได้ ส่วนใหญ่เป็นการผลิตสวนป่า
และจ าหน่ายไม้ซุงสักสวนป่า ไม้แปรรูป ดังนั้น ต้องปรับเพิ่มผลิตภาพและสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มให้ได้ เพื่อองค์การจะสามารถ
สร้างโอกาส และมีฐานะทางการเงินที่มั่นคง จากรายได้ที่เป็นการผลิตที่แท้จริง (Real Production) ซึ่งจะต้องมีแผนงาน
ที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม ดังนี้
- การปรับเพิ่มผลิตภาพสวนป่า Improve Productivity เพื่อได้ไม้ที่มีคุณภาพมาตรฐาน
และสร้างรายได้ ได้ตามกรอบระยะเวลาที่วางแผนไว้ เพราะการปลูกสร้างสวนป่าเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ และใช้เวลานาน
รวมถึงการลดการสูญเสียในกระบวนการผลิตให้ได้มากที่สุด
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์ Products Development สร้างมูลค่าเพิ่ม และการพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ
ซึ่งด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตามเวลา และเทคโนโลยีสมัยใหม่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จึงมีความจ าเป็น
ที่จะต้องเตรียมการเพื่อสร้างโอกาสให้ผู้บริโภคในอนาคตได้ใช้ผลิตภัณฑ์จากไม้ เช่น การหาวิธีใช้ประโยชน์จากเศษไม้ ,
การส่งออกไม้แปรรูป , การพัฒนานวัตกรรมการลงทุน และสร้างรายได้จาก Carbon Credit การร่วมมือพัฒนาธุรกิจ
กับภาคเอกชน เป็นต้น
- การสร้างองค์ความรู้สมัยใหม่ขององค์การ โดยอาจใช้รูปแบบการร่วมทุนกับภาคเอกชน
ในการสร้าง หรือพัฒนาองค์ความรู้การท าไม้/ผลิตภัณฑ์ไม้ เช่น Public Private Partnership
- การค้นหาและสร้างผลิตภัณฑ์ที่มี Identity เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ เช่น การสร้าง
Identity & Story ผลิตภัณฑ์ไม้ที่อายุหลายร้อยปี เป็นต้น
- ขอให้ผู้รับผิดชอบน าปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อค่า EP (Key Drivers) ทั้งในส่วนของก าไร Nopat
และต้นทุนเงินทุน Invested Capital ที่บริหารจัดการได้มาพิจารณาก าหนดเป็น KPI ของหน่วยงานที่รับผิดชอบปัจจัยนั้นๆ
เพื่อให้การบริหารจัดการเพื่อสร้างก าไรเชิงเศรษฐศาสตร์ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้มีความเป็นรูปธรรม สามารถก ากับ
ติดตามวัดผลงานตามแผนผัง Driver Tree ได้จริง
รายงานประจ าปี 2562 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ อ.อ.ป. ปลูกป่าเพื่อประชาชน หน้า 57